เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาแรงสุดๆ ฉบับปี 2020

 อย่างที่เรารู้กันดีว่าเทคโนโลยีในโลกเรานั้น มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และดีขึ้นในทุกๆวัน ในแต่ละปี ก็จะมีการอัพเดต เทรนด์อุปกรณ์ ไฮเทคต่างๆอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับปีนี้ สายคอมพีซีจะต้องตื่นตาตื่นใจกับ เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในปีนี้ ที่เราได้นำมาแนะนำเพื่อนๆกัน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกัน


เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาแรงสุดๆ ฉบับปี 2020

1. CPU /AI ยุคใหม่ของแกนประมวลผลบน PC

ในที่สุด CPU หรือโปรเซสเซอร์จากทาง Intel ก็เดินทางมาสู่เจเนอเรชั่นที่ 10 กันแล้ว โดยตัวนี้เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่นำปัญญาประดิษฐ์ AI มาประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ โดยเร่งประสิทธิภาพการทำงานร่วมกับ AI ได้มากกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า แถมเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลด้วย Intel Iris Plus Graphic ช่วยให้ภาพกราฟฟิกสวยสมจริงยิ่งขึ้น


ในเรื่องของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทาง Intel ได้อัปเกรดการเชื่อมต่อแบบไร้สาย Intel Wi-Fi 6 (รหัส AX) ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่า แถมรองรับเชื่อมต่อผ่าน Thunderbolt 3 ที่ให้ความเร็วสูงถึง 40GB ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะกับการทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น


ส่วนการทำงานเสริมที่ทำร่วมกับระบบ AI นั้นอย่างที่เห็นได้ชัดจะมี Intel GNA (Gaussian Mixture Mode) และ Deep Learning Boost ซึ่ง Intel GNA นั้นเป็นการประมวลผลที่ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีการกำจัดเสียงรบกวน Krisp ของ AI ที่สามารถลบเสียงรบกวนบริเวณรอบๆ ได้ระหว่างพูดคุยสนทนาผ่านแชท


ส่วนเทคโนโลยี Deep Learning Boost จะเป็นการวิเคราะห์ภาพเบลอร่วมกับ AI กว่า 8,000 ภาพ เพื่อประมวลผลลัพธ์ของภาพสัดส่วนใบหน้า วัตถุต่างๆ ของภาพปรับภาพเบลอของคุณนั้นให้กลายเป็นภาพที่ชัดขึ้นมาได้


จุดเด่น Intel Core Gen 10th


AI เพิ่มปัญญาประดิษฐ์ลงบนคอมพิวเตอร์

Intel Iris Plus Graphic กราฟฟิกสวยงามสมจริงขึ้น

Wi-Fi 6 (รหัส AX) ส่งข้อมูลไร้สายไวขึ้น 3 เท่า

Thunderbolt 3 ถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงกว่าเดิม

Intel GNA ระบบตัดเสียงรบกวนร่วมกับ AI

Deep Learning Boost วิเคราะห์ภาพผ่าน AI

2. อุปกรณ์ไร้สายแบบเต็มรูปแบบ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ไร้สายนั้น มาแรงมากๆ อุปกรณ์รอบตัวของเราส่วนใหญ่ก็พัฒนาจนกลายเป็นอุปกรณืที่ ไม่จำเป็นต้องพึ่งสายไฟอีกต่อไป หรือใช้สายส่งสัญญาณอีกแล้ว เช่น สมาร์ทวอทช์ หูฟังทรูลี่ไวเลส เป็นต้น ความสะดวกสบาย คือ ไม่จำเป็นต้องต่อสายอะไร เพราะมีเทคโนโลยีไร้สายรองรับ ทั้ง Bluetooth / Wi-Fi รวมกับ Wireless Charge ที่กล่าวมานี้ เป็นเทรนด์ในวงการแกดเจ็ต ที่เราได้เห็นกันไปแล้ว แต่สำหรับวงการอุปกรณืคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มมีบ้างแล้วเหมือนกัน เช่น Razer HyperFlux หรือ Logitech Powerplay เมาส์ไร้สายที่ใช้การรับ-ส่งไปผ่านแผ่นรองเมาส์ เป็นต้น แต่ถึงอยจ่างนั้นตัวแผ่นรองก็ยังต้องมีสายอยู่ดี


และเทรนด์ในปีหน้า ที่จะถึงนี้ก็มีแววว่า อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าไม่มากจะมีการเอาเทคโนโลยีการรับจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบไร้สายมาให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกันมากขึ้น


3. อุปกรณ์เล่นเกมฉลาดขึ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปเบื่องต้น ว่าเทคโนโลยี AI สามารถนำไปใส่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เกือบแทบจะทุกชนิด พอใส่เข้าไปมันก็จะกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่รู้ว่าเราต้องการอะไร ชอบอะไร และมีพฤติกรรมการใช้งานอย่างไร


ซึ่งในปีนี้เอง ก็มีแนวโน้มว่าเกมมิ่งเกียร์จะมีการหยิบจับเทคโนโลยี AI มาใส่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง หรือแม้กระทั้งจอยคอนโทรล


โปรเจคเตอร์แบบ Laser

4. โปรเจคเตอร์แบบ Laser

อาจพูดได้ว่าการถ่ายทอดไดนามิกเรนจ์ที่โดดเด่นเหนือเทคโนโลยีโปรเจ็คเตอร์ใดๆ ในอดีตที่เคยมีมาของ EH-LS10000 นั้น ถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพ ก็เหมือนดั่งนำ OLED TV ไปเทียบความต่างกับ LCD/LED TV หรือ Plasma TV ทว่าเป็นภาพจากโปรเจ็คเตอร์ที่ฉายบนจอรับภาพขนาดใหญ่กว่า 100 นิ้ว นั่นแล…

ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย อยู่ดีๆ ภาพจากโปรเจ็คเตอร์จะดีขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผลมิได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้ EH-LS10000 สามารถถ่ายทอดไดนามิกเรนจ์ โดยเฉพาะผลลัพธ์จากความเปลี่ยนแปลงของระดับ Black Level ได้ยอดเยี่ยมอย่างมีนัยสำคัญ คือ พื้นฐานจากแหล่งกำเนิดแสงที่เรียกว่า “เลเซอร์”


Projector Light Source


เทคโนโลยีเลเซอร์คงมิใช่ของใหม่ เพราะวงการเครื่องเสียง-โฮมเธียเตอร์ก็เคยใช้เทคโนโลยีนี้กับหัวอ่านเครื่องเล่นซีดีมาก่อนตั้งแต่ยุค 80s ก่อนได้รับการพัฒนามาเป็นเครื่องเล่นภาพและเสียงอย่าง ดีวีดี และ บลูเรย์เพลเยอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีสำหรับการนำมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงของโปรเจ็คเตอร์ เพิ่งจะมีเมื่อไม่นานมานี้เอง

แหล่งกำเนิดแสงของโปรเจ็คเตอร์มีความสำคัญอย่างไร? เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดแจ้ง ก่อนอื่นต้องขออธิบายหลักการทำงานของโปรเจ็คเตอร์ก่อน


ท่านที่ปัจจุบันอายุ 30+ คงจะยังทันได้เห็นเครื่องฉายสไลด์ หลักการของเครื่องฉายสไลด์ที่ไม่ซับซ้อน โดยพื้นฐานนับว่าคล้ายคลึงกับโปรเจ็คเตอร์อยู่มากทีเดียวครับ กล่าวคือ ภาพฉายบนจอที่เราเห็นนั้นเกิดจากการนำแหล่งกำเนิดแสง (จากหลอดไฟ) ฉายผ่านเลนส์รวมแสงไปตกยังภาพที่ต้องการจะดู ในที่นี้ คือ ฟิล์มสไลด์**


จากนั้นภาพ (ที่มาพร้อมกับแสงของหลอดไฟ) จะผ่านเลนส์ขยายไปตกกระทบบนจอรับภาพให้ได้ชมกัน โปรเจ็คเตอร์ก็มีโครงสร้างการทำงานแบบเดียวกับเครื่องฉายสไลด์นี้ ต่างที่รายละเอียดขั้นสูงที่ซับซ้อนกว่า

จากหลักการข้างต้น หากต้องการรับชมภาพฉายที่มีความสว่างจะแจ้ง หลอดไฟจะต้องมีกำลังความสว่างสูงพอ โดยเฉพาะหากต้องการความชัดเจนเมื่อฉายบนจอรับภาพขนาดใหญ่ หรือในสภาพแวดล้อมที่ต้องสู้แสง แต่ปัญหาคือ หลอดไฟกำลังสูงมักจะมาพร้อมกับความร้อน การถ่ายเทระบายความร้อนออกจากระบบจึงสำคัญ


ที่เห็นทั่วไปก็คือการเพิ่มพัดลม ถ้าไม่เพิ่มขนาดก็ต้องเพิ่มความเร็วรอบของพัดลม นี่คือที่มาของเสียงรบกวน บ่อยครั้งเราจึงเห็นโปรเจ็คเตอร์พรีเซ็นเทชั่นบางเครื่องที่กำลังหลอดไฟสูงๆ เวลาเปิดใช้งานทีเสียงดังอย่างกับเรือหางยาว ซึ่งต้องยอมแลกเพราะหากการระบายความร้อนทำได้ไม่ดี อายุการใช้งานของอุปกรณ์ก็จะสั้นลงกว่าที่ควรจะเป็น

ผลกระทบอีกประการของหลอดไฟกำลังสูง คือ มันจะกลายเป็นภาระสำหรับโปรเจ็คเตอร์เมื่อต้องการแสดงสีดำ สีดำจะไม่ดำสนิทเนื่องจากเป็นการยากจะปิดบังแสงสว่างที่สว่างมากจากหลอดไฟกำลังสูงนั้น มิให้เล็ดลอดออกมารบกวน


นี่คือเหตุผลว่า ทำไมโฮมเธียเตอร์โปรเจ็คเตอร์ทั่วไปจึงไม่เน้นความสว่างสูง ก็ด้วยข้อจำกัดเรื่องของการควบคุมแสงจากหลอดไฟ และเสียงรบกวนจากระบบระบายความร้อนนั่นเอง คงไม่ดีแน่ถ้าต้องนั่งฟังเสียงพัดลมโปรเจ็คเตอร์ไปพร้อมๆ กับการลุ้นฉากสำคัญของภาพยนตร์

ปัจจัยด้านคุณภาพของภาพที่เกี่ยวเนื่องกับหลอดไฟ ยังมีประเด็นเรื่องของการถ่ายทอดคุณภาพสีสัน เนื่องจากความสามารถในการถ่ายทอดสเป็กตรัมแสง กับอุณหภูมิสีของหลอดไฟ จะส่งผลกับภาพฉายโดยตรง ถ้าเทคโนโลยีหลอดไฟถ่ายทอดสเป็กตรัมแสงได้จำกัด ขอบเขตการแสงเฉดสีของโปรเจ็คเตอร์ก็ย่อมจำกัดไปด้วย และเช่นกันว่าถ้าอุณหภูมิสีของหลอดไฟไม่คงที่ การจะได้ภาพฉายที่ให้สมดุลสีเที่ยงตรงย่อมเป็นไปได้ยาก


5. เครื่องพิมพ์แบบ 3D

3D printer คือเครื่องจักรที่ใช้กระบวนการเติมเนื้อวัสดุ เพื่อทำให้เกิดเป็นรูปร่างที่สามารถจับต้องได้ตามที่ต้องการ โดยอาศัยข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งการเติมเนื้อหรือพิมพ์วัสดุลงไปนั้นเรียกว่า Additive Process ซึ่งการพิมพ์นั้นจะค่อยเป็นไปทีละ Layer หรือทีละชั้น ยกตัวอย่าง ถ้าเราต้องการสร้างตึกที่มีจำนวน 25 ชั้น เราก็ต้องเริ่่มสร้างจากฐานรากก่อน แล้วค่อยๆ ต่อเสาขึ้นไปทีละชั้น ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกับการพิมพ์งานของ เครื่องปริ้น 3 มิติ


เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นก่อนที่จะพิมพ์งานได้ ต้องมีข้อมูลในรูปแบบของ Digital ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำพวก CAD (Computer Aided Design) ในการออกแบบ นอกจากจะใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบแล้ว ยังสามารถใช้ สแกนเนอร์ 3 มิติ ในการเปลี่ยนวัตถุในโลกความจริงไปเป็นไฟล์ดิจิตอล ที่สามารถนำไปใช้งานกับ 3D printe


เมือได้โมเดลหรือชิ่้นงานในรูปของไฟล์ดิจิตอลแล้ว ก็จะนำไฟล์นั้นไปทำการ Slice หรือตัดเลเยอร์งานออกมาให้เป็นแผ่นบางๆ เพื่อที่จะให้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์แผ่นหรือชั้นบางๆ นั้นทับต่อกัน จนเกิดเป็นวัตถุ 3 มิติขึ้นมา ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกถึง ก้อนขนมปังก้อนยาวๆ แล้วถูกหั่นเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งถ้าเราเอาแผ่นบางๆ มาวางซ้อนกันแล้วทาแยม ลงระหว่างแผ่นขนมปัง ก็จะทำให้เกิดเป็นขนมปังก้อนยาว ก้อนเดียว ซึ่งตัวแยมนั้น ก็เปรียบเสมือนกาว ที่เอาไว้ยึดระว่างแผ่นขนมปัง


เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นจะใช้หลักการเดียวกัน คือตัดหรือ Slice งานเป็๋นแผ่นบางๆ แล้วพิมพ์แผ่นนั้นซ้อนทับกันไปเรื่อยๆ ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีแต่ละตัวนั้น จะต่างกันในส่วนของวัสดุที่ใช้พิมพ์ และกระบวนการในการพิมพ์ เทคโนโลยีของ 3D printer นั้นสามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้


Vat Photopolymerisation

Material Jetting

Binder Jetting

Material Extrusion

Powder Bed Fusion

Sheet Lamination

Directed Energy Depostion

และนี่ก็เป็น เทรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้ง 5 อย่างที่เราได้รวมมานำเสนอในวันนี้ ต้องมีจับจองสักอย่างแล้วล่ะ


มาทำความรู้จักกับ B2B B2C B2G ใครหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า B2B , B2C และ B2G อยู่บ้าง เป็นแนวทางการลงทุน Business ที่หลายคนอาจพอเข้าใจความหมาย วันนี้เราอยากจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกันอีกครั้ง

แหล่งท่องเที่ยว

เทคนิคด้านไอที

Comments

Popular posts from this blog

4thmart

cronicadenavarra 2